การบริหารงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลในสหกรณ์
- หลักนิติธรรม การถือกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเป็นบรรทัดฐานการทำงานของสหกรณ์อย่างไม่เลือกถือเว้นปฏิบัติ
- หลักคุณธรรม ยึดความถูกต้องดีงาม ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง สุจริต จริงใจ มีระเบียบ
- หลักความโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ ตรงไปตรงมา มีความชัดเจนตรวจสอบได้ เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
- หลักการมีส่วนร่วม เปฺดโอกาสให้ทุกฝ่ายในสหกรณ์ร่วมรับรู้ รับฟัง ตัดสินใจไม่กีดกั้น
- หลักความชอบ สหกรณืมีความตระหนักในสิทธิ หน้าที่ความสำนึกรับผิดชอบต่อสมาชิก ต่อสังคม และสาธารณะ
- หลักความคุ้มต่า ใช้ทรัพยากรประหยัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นคุณภาพ ความเหมาะสม และความพอเพียง
หลักสหกรณ์สากล 7 ประการ
- หลักเสรี เป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ
การเป็นสมาชิกสหกรณ์ ควรเป็นด้วยความสมัครใจ และเปิดโอกาสให้ทุกคนที่ต้องการใช้บริการของสหกรณ์และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกการเป็นสมาชิกไม่มีข้อจำกัดทางสังคม การเมือง เชื้อชาติ หรือศาสนา
- หลักประชาธิปไตย หนึ่งคนมีหนึ่งเสียง
การควบคุม และการจัดการสหกรณ์เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อสหกรณ์เป็นของสมาชิกทุกคน มีสิทธิ์ในสหกรณ์เสมอภาคกัน ในการใช้สิทธิ์ออกเสียงหลักหนึ่งคนต่อหนึ่งเสียงไม่ได้ยึดถือหุ้นเป็นคะแนนเสียงโดยถือว่าคนมีความสำคัญมากกว่าเงิน
- หลักยุติธรรม จำกัดดอกเบี้ยที่ให้แก่ทุนเรือนหุ้น
สหกรณ์จำกัดการถือหุ้น และผลประโยชน์ซึ่งจะได้จากหุ้นคือเงินปันผลตามหุ้นที่มีขีดจำกัด เช่น ปัจจุบันกฎหมายสหกรณ์ ของประเทศไทยจำกัดการถือหุ้นเพียงไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นทั้งหมดและจ่ายเงินปันผลตามหุ้นจำกัดไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี
- หลักเศรษฐกิจ มีเงินเฉลี่ยคืนจากยอดซื้อเมื่อมีกำไร
สหกรณ์ดำเนินธุรกิจมีผลกำไร ย่อมเป็นของสมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์ ดังนั้น ผลกำไรที่เหลือจากการปันผลตามหุ้นและต้องนำมาเฉลี่ยคืนตามส่วนซื้อแก่สมาชิกอีก ส่วนหนึ่ง ผู้ซื้อหุ้นได้คืนมาก ผู้ซื้อน้อยได้คืนน้อย เป็นการช่วยเหลือเศรษฐกิจของสมาชิกอย่างแท้จริง
- หลักความมั่นคง ให้การศึกษาและอบรม
เพื่อความมั่นคงของสหกรณ์จะต้องมีการเผยแพร่อุดมการณ์ทางสหกรณ์ สืบทอดกันไปให้ขยายกว้างและสืบทอดให้คงอยู่ตลอดกาลจะต้องมีการให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- หลักพัฒนาสังคม ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์
เพื่ออำนวยประโยชน์แก่สมาชิก และชุมนุมอย่างดีที่สุดสหกรณ์ ทั้งปวงควรร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระหว่างประเทศอีกด้วย
- หลักความเอื้ออาทร ต่อชุมชน
สหกรณ์ พึงดำเนินกิจกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ
………………………………………………………………………………………………………………..